อนุสาวรีย์พระยาไชยบูรณ์

อนุสาวรีย์พระยาไชยบูรณ์อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดแพร่ ประมาณ 4 กิโลเมตร ริมทางหลวงแผ่นดินสาย 101 พระยาไชยบูรณ์เป็นข้าหลวงเมืองแพร่ รับราชการระหว่าง พ.ศ. 2440 – 2445 ในปี พ.ศ. 2445 พวกเงี้ยวในเมืองแพร่ก่อการกบฏ ท่านถูกพวกเงี้ยวฆ่าตาย เนื่องจากไม่ยอมลงนามยกเมืองแพร่ให้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทหารมาปราบพวกเงี้ยว แล้วสร้างอนุสาวรีย์ให้กับพระยาไชยบูรณ์เป็นอนุสรณ์ และเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชฤทธานนท์พหลพลภักดี

การเดินทาง

อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดแพร่ ประมาณ 4 กิโลเมตร

 


หลักเมืองจังหวัดแพร่

หลักเมืองจังหวัดแพร่ อำเภอเมือง จ.แพร่ ตั้งอยู่บนถนนคุ้มเดิมย่านกลางเมือง เป็นหลักใหม่สร้างตามนโยบายมหาดไทย ปี 2535 ตั้งอยู่คู่กับหลักศิลาจารึกเก่าที่กล่าวถึงการสร้างวัดศรีบุญเริง สมัยรามคำแหงมหาราช ซึ่งในปัจจุบันวัดนี้ไม่มีแล้วกลายเป็นที่ตั้งเรือนจำจังหวัด อักษรบนจารึกเป็นภาษาไทยอาหม

แผนที่เดินทาง

 

 

 


หมู่บ้านทุ่งโฮ้ง

หมู่บ้านทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จ.แพร่ ตั้งอยู่ที่ถนนยันตรกิจโกศล ห่างจากตัวเมืองประมาณ 4 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 101 (สายแพร่ – น่าน) เป็นแหล่งผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าม่อฮ่อมดั้งเดิมของจังหวัดแพร่

 

แผนที่บ้านทุ่งโฮ้ง


 

หมู่บ้านทุ่งโฮ้ง เป็นหมู่บ้านในเขตอำเภอเมือง ที่มีผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ขึ้นชื่อมาก ได้แก่ ผ้าม่อฮ่อม ซึ่งถือกันว่ามีเนื้อดี ทนทาน และสวยงาม นักท่องเที่ยว นิยมซื้อหาไว้ เป็นของที่ละลึก การเดินทาง ใช้เส้นทางสาย แพร่-น่าน ไปประมาณ ๔ กิโลเมตรครับ

ประวัติไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง

ไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่า ผู้แก่และจากการค้นคว้าในหนังสือประวัติศาสตร์พบว่า อพยพมาจากเมืองพวน แขวงเมืองเชียงราย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประมาณ พ.ศ. 2360 – 2380 ไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง หรือชื่อเดิมเรียกว่า บ้านทั่งโฮ้ง “คำว่าทั่ง” หมายถึง ทั่วที่รองรับการตีเหล็ก คำว่า “โห้ง” เป็นภาษาไทยพวน หมายถึงสถานที่เป็นแอ่งลึกลงไป คนพวนว่า “มันโห้งลงไป” สมัยก่อนนั้นคนพวนบ้านทุ่งโฮ้งจะมีเตาตีเหล็กกันแทบทุกหลังคาเรือน เขาจึงเรียกว่า “บ้านทั่งโห้ง” ส่วนคำว่า “ทุ่งโฮ้ง” คงจะเป็นคำเพี้ยงจากคำว่า “ทั่งโห้ง”

ประเพณี

ประเพณีที่สืบทอดกันมา ของชาวไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง คือประเพณีกำฟ้า

กำฟ้า หมายถึง การบวงสรวงเทพยดา และบูชาฟ้า เพื่อให้เทพยดาบนฟ้าให้การคุ้มครอง โดยชาวไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้งจะถือกันอย่างเคร่งครัด

กำฟ้าครั้งแรก เดือน 3 ใต้ (เดือน 5 เหนือ ) วันขึ้นสี่ค่ำ

กำฟ้าครั้งที่ 2 เดือน 3 ใต้ (เดือน 5 เหนือ) วันขึ้นแปดค่ำ

กำฟ้าครั้งที่ 3 เดือน 3 ใต้ (เดือน 5 เหนือ) วันขึ้นสิบสองค่ำ

เรื่องราวของประเพณีกำฟ้า

ในปี ค.ศ. 1787 (พ.ศ. 2330) เจ้านันทะเสน เจ้าเมืองเวียงจันทร์ เห็นว่าเจ้าเมืองชมพู เมืองพวนไม่ยอมมาอ่อนน้อมและส่งส่วนตามปกติ จึงให้นายทหารชื่อเขียวไปปราบปราม ฝ่ายเจ้าชมพู เจ้าเมืองพวนสู้ไม่ได้ จึงถูกจับมายังเวียงจันทร์ เจ้านันทะเสนจึงให้ทหารนำเจ้าชมพูไปลานประหาร ขณะทหารจะใช้หอกแทงเจ้าชมพูนั้น เกิดมีลมฝนขึ้นอย่างกะทันหัน และฟ้าได้ผ่าลงมาที่หอกจนขาดสะบั้น ทหารเพชฌฆาตพากันแตกตื่น ไปรายงานให้เจ้านันทะเสนทราบ ทำให้เจ้านันทะเสนไม่กล้าประหารชีวิตเจ้าชมพู และให้เจ้าชมพูกลับไปปกครองเมืองพวนเหมือนเดิม วันที่ฟ้าช่วยชีวิตเจ้าชมพูไว้เป็นวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 5 ชาวพวนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวัน “กำฟ้า “ จนเกิดเป็นประเพณีกำฟ้าของชาวไทยพวนทุกหมู่เหล่า สืบมาจนทุกวันดังที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่าชาวไทยพวน ไม่มีใครถูกฟ้าผ่าตาย

อาชีพหลักของชาวบ้านทุ่งโฮ้ง คือการทำผ้าหม้อห้อมแท้ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษ ที่สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน และเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดแพร่ จนได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP เชิงหัตถกรรม (OTOP Village Champion Handicrafts Tourism)

ผลิตภัณฑ์โดดเด่น

ผ้าหม้อห้อม หม้อห้อมเป็นคำพื้นเมือง จากคำสองคำคือ “หม้อ” และ “ห้อม” หม้อเป็นภาชนะอย่างหนึ่งที่ใช้ในการบรรจุน้ำ หรือของเหลวมีทั้งเล็กและใหญ่ ส่วนห้อมนั้น เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง ที่ใช้ลำต้นและใบมาหมัก ในน้ำตามกรรมวิธีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ จะให้เป็นสีกรมท่าโดยนำผ้าขาวไปย้อมให้เป็นสีกรมท่าที่เรียกว่า “ผ้าหม้อห้อม”

ผ้าหม้อห้อม เป็นผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านทุ่งโฮ้งที่มีความโดดเด่น เนื่องจากเป็นเอกลักษณ์ของชาวทุ่งโฮ้ง และชาวแพร่มาช้านาน ตลอดจนเป็นชุดแต่งกายประจำถิ่นของชาวแพร่ และชาวบ้านทุ่งโฮ้งที่สวมใส่ ในชีวิตประจำวัน และงานประเพณีต่างๆ จึงถือเป็นเอกลักษณ์ของชาวแพร่ ดังคำขวัญของจังหวัดแพร่ที่กล่าวไว้ว่า “หม้อห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม”

การจัดการด้านการท่องเที่ยว

บ้านทุ่งโฮ้งมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวสำหรับบริการให้ข้อมูลและเอกสารแก่นักท่องเที่ยวพร้อมทั้งยังเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้า OTOP ภายในหมู่บ้านอีกด้วย และเป็นหมู่บ้านเชิงหัตถกรรมที่นักท่องเที่ยวสามารถชมกระบวนการผลิตผ้าหม้อห้อมได้ทุกขั้นตอน และสามารถเลือกซื้อได้โดยตรงจากชาวบ้าน

นักท่องเที่ยวสามารถพักแรมที่หมู่บ้านได้เพราะมี Home Stay ไว้สำหรับรองรับนักท่องเที่ยวอีกด้วย

ผ้าตีนจกของอำเภอลอง

ผ้าตีนจกของอำเภอลอง เป็นงานฝีมือที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง มีความประณีตสวยงาม ทอด้วยผ้าไหม และผ้าฝ้าย โดยเน้นสีดำแดงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มีแหล่งผลิตอยู่ที่บ้านนาตุ้ม บ้านหัวทุ่ง บ้านนามน

 

 

 

ข้อมูล เรื่องราวของผลิตภัณฑ์ (Product Story)ความหมายของ “ผ้าตีนจก” เป็นผ้าทอของชาวบ้านที่ทอขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปเป็นเชิงผ้าถุง หรือซิ่นซึ่ง

มีลวดลายที่สวยงาม แสดงถึงฐานะของผู้สวมใส่ คำว่า “ตีนจก” ซึ่ง “ตีน” หมายถึงเชิงของผ้าถุง “จก” หมายถึง

การล้วง จึงมีความหมายรวมกันว่า การทอเชิงผ้าถุงโดยใช้วิธีการล้วงด้ายเพื่อให้ได้ลวดลายตามที่ต้องการ เมื่อนำ

มาต่อกับผ้าถุง จึงเรียกว่า “ซิ่นตีนจก”การทอผ้าตีนจกเมืองลอง จังหวัดแพร่ ในการแต่งกายของชาวเมืองลอง ยัง

ปรากฎมานานนับร้อยปี หลักฐานนี้คือภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดเวียงต้า ตำบลเวียงต้า อำเภอลอง ฝีมือช่างพื้นบ้าน

ที่มีความงามไม่น้อยไปกว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน จิตรกรรมเวียงต้าเป็นภาพวิถี

ชีวิตความเชื่อการแต่งการของชาวบ้านเวียงต้า ซึ่งเป็นคนเมืองลองในยุคนั้น จากภาพจะเน้นผ้าถุงที่ผู้หญิงในภาพ

ใช้สวมใส่เป็นซิ่นตีนจก ในปัจจุบันผ้าตีนจกเมืองลอง ได้กลับมาอยู่ในความนิยมของประชาชน สร้างชื่อเสียงให้กับ

อำเภอลอง และจังหวัดแพร่ ช่างทอตีนจกจากเมืองลอง ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้มีผลงานทางด้านวัฒนธรรมดีเด่น

ในระดับประเทศในปี พ.ศ. 2537 และผ้าทอตีนจกได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในเมืองลอง

มากขึ้น เป็นทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่สำคัญในท้องถิ่นที่ควรอนุกรักษ์ไว้

.ผู้ผลิต (Producers) Search ค้นหาผลิตภัณฑ์ : “ผ้าตีนจก” จังหวัดแพร่ ผู้ผลิตและสินค้า

(Producer & Products) ที่อยู่

(Address) โทรศัพท์

(Telephone)

1 กลุ่มทอผ้าจกไหมและผ้าตีนจก 23 หมู่ 9 ตำบลแม่ป้าก อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ 54160 054 509092

2 กลุ่มหัตถกรรมผ้าตีนจก หมู่ 4 ตำบลแม่ป้าก อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ 54160

3 กลุ่มทอผ้าบ้านวังหลวง หมู่ 3 ตำบลวังหลวง อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ 54170 054 647034

4 กลุ่มทอผ้า หมู่ 7 ตำบลกาญจนา อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 54000 054 531808

5 กลุ่มทอผ้าตีนจก หมู่ 2 บ้านนาตุ้ม ตำบลบ่อเหล็กลอง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150 054 581138

6 กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง 54/1 หมู่ 3 ตำบลบ้านปง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ 54130 054 547123

7 กลุ่มสตรีเครือข่ายสิ่งทอย้อมสีธรรมชาติ 115/3 หมู่ 8 ตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150

8 กลุ่มทอผ้าบ้านนามน 4/4 หมู่ 2 ตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150

9 กลุ่มทอผ้าบ้านนาหลวง 41 หมู่ 4 ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150

10 กลุ่มสตรีสหกรณ์ทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ 97 หมู่ 2 ตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150

11 กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเชตวัน 141/2 หมู่ 8 ตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150

12 กลุ่มทอผ้าบ้านทุ่งตากล้า 63/3 หมู่ 3 ตำบลบ้านปิน อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150

13 กลุ่มทอผ้าตีนจกบ้านนาอุ่นน่อง 67/3 หมู่ 7 ตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150

14 กลุ่มทอผ้า(ศิลปาชีพ)บ้านแม่จองไฟ หมู่ 2 ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150

15 กลุ่มหัตถกรรมเวียงเชียงชื่น 197 หมู่ 8 ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150

16 กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้านาหิน 31/2 หมู่ 4 ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150

17 กลุ่มทอผ้าตีนจก 96/1 หมู่ 4 ตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ 54110

18 กลุ่มทอผ้าบ้านป่าสักบน 128 หมู่ 8 ตำบลป่าสัก อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ 54160

19 กลุ่มทอผ้าตีนจกบ้านเหล่า 63 หมู่ 9 ตำบลแม่ป้าก อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ 54160

20 กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านค้างคำปัน 189/2 หมู่ 2 ตำบลแม่พุง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ 54160


ศูนย์วิจัยพืชสวนแพร่

ศูนย์วิจัยพืชสวนแพร่ เลขที่ 205 หมู่ 4 ตำบลวังหงษ์ บริเวณป่าสงวนแห่งชาติห้วยเบี้ย ห่างจากตัวเมืองแพร่ไปทางทิศเหนือ ตามคันคลองส่งน้ำชลประทานฝั่งขวาประมาณ 20 กิโลเมตร พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 176–218 เมตร เริ่มก่อตั้งเป็นโครงการสถานีทดลองพืชสวนแพร่ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแปลงทดสอบและคัดเลือกไม้ผลพันธุ์ดี ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการทำสวนผลไม้ พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับ แก่เกษตรกรในภาคเหนือ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยศึกษาการขยายพันธุ์ส้มปลอดโรค ศึกษาการปลูกส้มเขียวหวานบนต้นตอต่างชนิดในดินชุดต่าง ๆ คัดเลือกสายต้นลางสาดจากสวนเกษตรกรในภาคเหนือ และงานวิจัยอื่นๆอีกหลายชิ้น

กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ได้แก่ นั่งล้อวัวเทียมเกวียนชมรอบบริเวณศูนย์วิจัยพืชสวนแพร่ และร่วมกิจกรรมเก็บผลผลิตทางการเกษตรตามฤดูกาล (ผลไม้/ไม้ดอก) นักท่องเที่ยวที่สนใจควรติดต่อล่วงหน้าประมาณ 1 สัปดาห์ สอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์วิจัยพืชสวนแพร่ โทร.0 5452 1387, 0 5452 3024 โทรสาร 0 5452 3043 เปิดให้เข้าชมเฉพาะวันและเวลาราชการ

 

 

พิพิธภัณฑ์เงินตราสยามเวียงสรอง

พิพิธภัณฑ์เงินตราสยามเวียงสรอง อยู่บนเส้นทางหลวงหมายเลข 103 ตรงหลังกิโลเมตรที่ 14 ห่างจากตัวเมืองแพร่ประมาณ 39 กิโลเมตร มีพื้นที่กว่า 10 ไร่ เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ของครอบครัวอุปวรรณ ที่เก็บรวบรวมเงินตรา และเหรียญกษาปณ์ต่างๆ ของไทยตลอดจนเงินสกุลอื่นๆ ตั้งแต่สมัยทวารวดี ศรีวิชัย สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบันที่หายากไว้มากมาย นอกจากนี้ยังมีสิ่งของเครื่องใช้วัตถุโบราณ เช่น ถ้วยชามสังคโลก และเอกสารต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 5 จัดแสดงเพื่อให้นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไปได้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.00 น. อัตราค่าเข้าชม คนละ 30 บาท หากเข้าชมเป็นหมู่คณะสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. (054) 634237, 634395

 


พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนแพร่ – สูงเม่น ประมาณ 3 กิโลเมตร อยู่ในบริเวณเดียวกับสวนอาหารบ้านฝ้าย ถนนยันตรกิจโกศล เป็นสถานที่จำลองชีวิตความเป็นอยู่ในรูปแบบอาคารบ้านเรือน และของใช้ในครัวเรือนของชาวเมือง เมื่อราว 100 กว่าปีมาแล้ว เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00 – 22.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 5452 3114


บ้านวงศ์บุรี

บ้านวงศ์บุรีเลขที่ 50 ถนนคำลือ (ถนนหลังจวนผู้ว่า สี่แยกพระนอนเหนือ) ใกล้กับวัดพงศ์สุนัน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2450 โดยเจ้าพรหม(พลวงพงษ์พิบูลย์) และ เจ้าสุนันตา วงศ์บุรี ธิดาเจ้าบุรี (พระยาบุรีรัตน์) ช่างที่สร้างบ้านหลังนี้มาจากเมืองกวางตุ้งประเทศจีน และใช้ช่างไม้พื้นถิ่น เป็นบ้านไม้สักสองชั้นแบบยุโรปประยุกต์ ฐานเป็นอิฐและซีเมนต์สูงจากพื้น 1 เมตร หลังคาสองชั้นมีช่องระบายลมระหว่างชั้นทั้งสอง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของอากาศเนื่องจากบ้านหันหน้าเข้าทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ จึงมีลมพัดเย็นในฤดูร้อน บ้านทรงปั้นหยา 2 ชั้น มีเพดานสูง หลังคาสูง จุดเด่นของอาคารนี้คือลวดลายไม้แกะสลักที่หน้าจั่ว ชายคา ระเบียง ช่องลม ชายน้ำ หน้าต่าง และประตู ที่ประตูด้านหน้าเป็นปูนปั้นรูปแพะซึ่งเป็นตัวแทนของหลวงพงษ์พิบูลย์และแม่เจ้าสุนันทาซึ่งเกิดในปีแพะ ต่อมาได้มีการซ่อมแซม แต่ลวดลายแกะสลักยังคงเป็นของเดิม ภายในบ้านตกแต่งด้วยสิ่งของเครื่องใช้เก่าแก่ของตระกูลที่ถ่ายทอดกันมาหลายชั่วอายุ ได้แก่ เครื่องเรือน เครื่องเงิน เครื่องปั้นดินเผา เอกสารที่สำคัญ เช่น เอกสารการซื้อขายทาส บ้านวงศ์บุรีได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น ปี 2536 ของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์หลายเรื่อง และตีพิมพ์ในหนังสือต่าง ๆ นอกจากนี้บ้านวงศ์บุรีได้จัดกิจกรรมเสริม คือการจัดขันโตกสำหรับชาวไทยและต่างประเทศที่มาเป็นคณะ โดยต้องติดต่อล่วงหน้า

 


บ้านประทับใจ

บ้านประทับใจตั้งอยู่เลขที่ 59 หมู่ 13 ตำบลป่าแมต ไปตามทางหลวงหมายเลข 1023 (แพร่ – ลอง) สร้างสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2519 เป็นบ้านไม้สักทั้งหลัง โดยใช้ไม้สักท่อนขนาดใหญ่ ตั้งเป็นเสาบ้านรวม 130 ต้น แต่ละเสามีอายุประมาณ 300 ปี แกะสลักอย่างประณีตวิจิตรบรรจง ตัวบ้านเป็นแบบทรงไทยประยุกต์ มีเนื้อที่ถึง 1 ไร่เศษ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น. อัตราค่าเข้าชม คนไทย 15 บาท ชาวต่างประเทศ 20 บาท นอกจากนี้ผู้เข้าชมสามารถติดต่อล่วงหน้าได้ที่ โทร. (054) 511008, 511282

ข้าพเจ้ามีบทกลอนที่ท่านเจ้าของบ้านประทับใจหลังนี้แต่งไว้ให้ท่าน ๆ ได้อ่านกันด้วย ลองมาทำความเข้าใจกับบทกลอนนี้กัน

…………………………………….

ด้วยหัวใจเราตระหนักประจักษ์จิต

จึงอุทิศชีวามาสร้างสรรค์

ไม้หมดเมือง เมืองหมดไม้ไปทุกวัน

จะหาทางป้องกันนั้นอย่างไร

เราเหนื่อยยากตรากตรำลำบากแท้

จนเปลี่ยนแปรเป็นบ้านได้อาศัย

เป็นอนุสรณ์คงอยู่คู่เมืองไทย

ตั้งชื่อบ้าน “ประทับใจ” ให้กับเรา

สร้างจากบ้านเรือนเก่าถึงเก้าหลัง

ใช่เราหวังทำลายป่าเช่นใครเขา

หวังเชิดชูคุณค่าไม้ให้นานเยาว์

หวังเพียงลูกหลานเราจะได้ดู

ท่านผู้ชมทำใจให้ประเสริฐ

อย่าบังเกิดอคติที่อดสู

ท่านอยากดู เราให้ท่านได้ดู

แต่จงรู้เหตุผลคนสร้างเอย

(เจ้าของบ้าน)

…………………………………..

ทริบเล็กๆน้อยๆในบ้านประทับใจ

บ้านไม้ทรงไทยในปัจจุบันก็หาชมได้ยากอยู่พอควร ยิ่งเป็นบ้านไม้สักทั้งหลังด้วยแล้ว หาชมได้ยาก ทริปนี้เลยพาท่าน ๆ ไปชมบ้านส่วนบุคคลที่เมืองไม้สักของประเทศก็ว่าได้ เพราะจังหวัดแพร่นี้ขึ้นชื่อในเรื่องของไม้สักใช่มั้ยล่ะครับและที่ภูมิใจนำเสนอความเป็นไทยในทริปนี้ก็คือ “บ้านประทับใจ”บ้านไม้สักทั้งหลัง รับรองครับว่าท่านใดได้เข้าเยี่ยมชมก็จะรู้สึกประทับใจในความเป็นไทยและอลังการในความยิ่งใหญ่ของไม้สักกับความเป็นไทยไม่รู้ลืมเลย…..เชิญทุกท่านมาดูความยิ่งใหญ่ของบ้านไม้สักกันเลย

บ้านทรงไทยประยุกต์สร้างด้วยไม้สักทั้งหลังนี้คือ “บ้านประทับใจ” หาไม่ยาก มาไม่ถูกก็ถามคนที่นี่ได้เลยเพราะที่นี่ใคร ๆ ก็รู้จักกันดี หรือจากตัวเมืองจังหวัดแพร่ขับรถไปตามเส้นทางไปอำเภอลอง เลยสี่แยกไฟแดงมาประมาณ 700 เมตร เราจะเห็นป้าย “บ้านประทับใจ” อยู่ทางด้านขวามือ ตั้งอยู่หน้าสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดแพร่อย่างชัดเจน เลี้ยวขวาไปตามป้ายเพียง 400 เมตร ก็ถึงแล้ว เชิญ…เชิญทางนี้

เก็บค่าเข้าชมท่านละ 20 บาทต่อคนเพื่อนำไปปรับปรุงบ้านให้แลดูน่าเยี่ยมชมอยู่เสมอ แต่เค้าก็แถมด้วยพวงกุญแจไม้ให้ท่านที่มาเยี่ยมชมเก็บไว้เป็นที่ระลึกกันด้วยนะครับ ที่นี่มีคนเข้าชมกันมาก เช่นวันนี้คนเยอะทีเดียว มาทั้งเป็นครอบครัวและหมู่คณะ รถจอดเต็มเลย มีทั้งรถทัวร์ รถตู้ และรถส่วนตัว เอ๊ะ ๆ พลาดไม่ได้ซะเลย..ที่นี่เค้ามีร้านขายขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว และข้าวซอย อยู่ภายในบริเวณบ้านประทับใจให้ท่าน ๆ ได้ลิ้มรสในรสชาติของเมืองเหนือแท้ ๆ กันด้วยล่ะ เข้าสู่บริเวณหลังซุ้มประตูบ้านก็รู้สึกได้ถึงกลิ่นอายความเป็นเมืองเหนือแล้วล่ะ ทางเข้าสู่ตัวบ้านเต็มไปด้วยความสวยงามของต้นไม้นานาชนิด ทั้งไม้ดอกไม้ประดับ ยิ่งช่วงนี้เข้าสู่ฤดูหนาวด้วยแล้วดอกไม้ต่างแข่งกันออกดอกบานสะพรั่ง อวดความสวยงามของใครของมันกันน่าดู เห็นแล้วสดชื่นจริง ๆ

 

 

และที่มีซะหลายอันเลยก็นี่เลย“ผางลาง” ผางลางเป็นเครื่องทำเสียงสัญญาณคล้ายกะลอหรือกะแหล่ง สำหรับแขวนคอวัว ควาย แต่มีขนาดใหญ่กว่า ทำด้วยโลหะรูปร่างคล้ายระฆัง แต่เป็นสี่เหลี่ยมด้านบนโค้งมน มีหูสำหรับสอดไม้แขวนลอยอยู่ระหว่างขาไม้ โค้งเป็นรูปรี ซึ่งตั้งอยู่บนฐานไม้ผางลาง จะใช้วางไว้บนหลงวัวหรือบนเกวียนเล่มแรกของขบวนกองร้อยขนสินค้าด้วยวัวต่าง เพื่อให้เกิดเสียงดังเช่นเดียวกับกระดิ่งหรือกะลอที่แขวนไว้ที่คอวัว แต่ผางลางจะมีเสียงดังก้องกังวานไปได้ไกล เป็นสัญญาณให้ขบวนวัวต่างหรือกองเกวียนที่อยู่ถัดไปตามได้ถูกและรู้ตำแหน่งของหัวหน้ากองร้อยหรือผู้นำของตน

“ผางลาง” จึงเป็นเครื่องทำเสียงสัญญาณที่จำเป็นในการเดินทางของกองร้อยขนสินค้า หรือกองวัวต่างในอดีต  ขณะที่ไม่มีเครื่องส่งสัญญาณที่ทันสมัย เช่น แตร  กริ่ง หรือวิทยุที่ใช้อย่างปัจจุบัน

แบบแปลนการปลูกสร้าง และลักษณะทั่วไปของบ้านประทับใจ ตั้งบ้านเป็นแบบทรงไทยประยุกต์ มีหลังคาสูงติดต่อกัน 3 หลัง แต่พื้นที่ต่ำกว่าระดับของบ้าน หลังคามีหน้าจั่วประดับด้วยกาแล ซึ่งเป็นสัญลักษณ์บ้านทรงไทยทางภาคเหนือ ประตูหน้าบ้านเป็นไม้แผ่นทึบ มีสลักไม้ชั้นในเป็นกลอนประตู อย่างเช่น สลักบานสมัยอยุธยา หน้าต่างทางซีกขวาของตัวบ้านเป็นไม้แผ่นทึบมีสลักไม้เป็นกลอนหน้าต่าง ฝากระดานใช้ไม้สักกว้างประมาณ 20-24 นิ้ว แล้วแต่ความเหมาะสมของสถานที่ เสาบ้านยังลึกลงไปในดินประมาณ 1.2 เมตร แต่ตอนหลังเกรงว่าไม้ที่ฝังลงไปในดินจะมีการผุกร่อน เนื่องจากความชื้นของดินและการกัดกินของแมลง คุณพ่อกิจจาจึงได้ขุดดินให้ถุนบ้านออกไป ลึกประมาณ 1 เมตรและให้แกะสลักโคนเสา เทปูนลาดพื้นอย่างที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ ชั้นล่างของตัวบ้าน บางส่วนจะจัดทำเป็นโชว์รูมและที่จำหน่ายสินค้า เพื่อเป็นของที่ระลึก เมื่อท่านได้ขึ้นมาเดินชมบ้านประทับใจแล้ว จะรู้สึกว่าตัวบ้านมีความกว้างใหญ่มาก โดยเฉพาะตัวบ้านนั้นมีเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ 3 งานเศษ ประกอบด้วยห้องพักส่วนตัวชานมะปราง ซึ่งเป็นชานนั่งเล่นที่มีร่มของต้นมะปรางประดับอยู่ มีห้องพักรับรองแขกถึง 5 ห้อง ด้านหลังมีชานตะวันสำหรับนั่งรับแสงแดดในตอนเช้า มีชุดรับแขกแกะสลักที่ทำจากไม้แผ่นเดียวให้ท่านชมตลอดทั้งโต๊ะยาวที่ทำจากไม้ซึ่งเป็นตอไม้ที่เหลือจากการทำสัมปทานไม้ของบริษัท เอเชียติ๊ก “บ้านประทับใจ” เปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอย่างแท้จริง เมื่อประมาณกลางปี 2528 จนถึงปัจจุบัน สำหรับท่านที่ได้เข้าชมหากมีข้อข้องใจอันใดเจ้าของบ้านยินดีชี้แนะให้รายละเอียดแก่ท่าน และคุณยายลำยองบอกอีกว่าถ้าหากว่าการต้อนรับมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดขาดตกบกพร่อง ในฐานะเจ้าของบ้านประทับใจต้องขอกราบอภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

คุ้มเจ้าหลวง

“คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่” ตั้งอยู่ที่ถนนคุ้มเดิม ตรงข้ามกับโรงเรียนนารีรัตน์และวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ใจกลางเขตเมืองเก่า คุ้มแห่งนี้สร้างในปี พ.ศ. 2435 ในสมัยเจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ เจ้าหลวงเมืองแพร่องค์สุดท้าย

คุ้มเจ้าหลวง เมืองแพร่ ถนนคุ้มเดิม ปัจจุบันคือจวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2435 โดยเจ้าหลวงพิริยะชัยเทพวงศ์ คุ้มแห่งนี้เป็นอาคารโอ่โถง มีประตู หน้าต่างทั้งหมด 72 บาน งดงามด้วยลวดลายฉลุไม้อยู่ด้านบนปั้นลม และชายคาน้ำ รอบตัวอาคารประดับด้วยลวดลายไม้แกะฉลุ ตัวอาคารสร้างด้วยอิฐถือปูนทั้ง 2 ชั้น ไม่มีการฝังเสาเข็มแต่ใช้ไม้ซุงท่อนเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ประดู่รองรับฐานเสาทั้งหลัง ห้องกลางเป็นห้องทึบแสงสว่างส่องเข้าไปไม่ได้ ใช้เป็นที่คุมขังทาส บริวารที่ทำผิดร้ายแรง ส่วนห้องทางปีกซ้าย และขวามีช่องพอให้แสงส่องเข้าไปได้บ้าง ใช้เป็นที่คุมขังผู้มีความผิดขั้นลหุโทษ

ในส่วนล่างของคุ้มยังมีห้องใต้ดินสำหรับคุมขังนักโทษ ที่แบ่งเป็นคุกปีกซ้ายและปีกขวา เป็นห้องมีแสงส่องได้บ้าง เอาไว้คุมขังนักโทษที่ทำความผิดสถานเบา โดยที่คุกปีกขวามีช่องสี่เหลี่ยมขนาดเล็กที่เอาไว้หย่อนอาหารให้นักโทษด้วย ส่วนผู้ที่ทำความผิดสถานหนักจะถูกคุมขังในคุกมืดที่ห้องกลาง ซึ่งเป็นที่มาของเรื่องราวลึกลับต่างๆภายในคุ้มแห่งนี้

หลังจากเหตุการณ์จลาจลเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ ในปี พ.ศ.2445 เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ก็ได้ลี้ภัยไปอยู่ที่เมืองหลวงพระบางจนท่านพิราลัยที่นั่น เพื่อไม่ให้เหตุการณ์บานปลายและป้องกันอังกฤษเข้ามาแทรกแซง ส่วนแม่เจ้าบัวไหลและเจ้าน้อยอินทร์แปลงก็ได้ไปพำนักที่วังวรดิศของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ หลังจากนั้น คุ้มแห่งนี้ก็ได้กลายเป็นที่ตั้งของกองทหารม้าที่ทางกรุงเทพฯได้ส่งมารักษาความสงบเรียบร้อยในเมืองแพร่อยู่ระยะหนึ่ง ต่อมา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้มีประกาศพระราชบัญญัติการประถมศึกษาขึ้น โรงเรียนเทพวงศ์จึงย้ายจากวัดพระบาทมิ่งเมืองมาอยู่ที่บริเวณคอกม้าเก่าที่คุ้มแห่งนี้ ในฐานะของโรงเรียนประจำจังหวัดชาย เรียกกันสมัยนั้นว่า “โรงเรียนคอกม้า” ปัจจุบันคือ “โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่” (ปัจจุบันตั้งอยู่ที่บริเวณถนนยันตรกิจโกศล)

คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่แห่งนี้ เคยเป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เมื่อคราวเสด็จเยี่ยมราษฎรในจังหวัดแพร่ ระหว่างวันที่ 15-17 มีนาคม พ.ศ.2501 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2536 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ และพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ก็เคยเสด็จมาประทับแรมที่นี่เช่นกัน

และในปี พ.ศ. 2536 คุ้มแห่งนี้ก็ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นในปี พ.ศ. 2540

คุ้มแห่งนี้กลายเป็นจวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ในระยะหนึ่ง ในปัจจุบัน คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่อยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองแพร่ แบ่งพื้นที่เป็นห้องต่างๆ อาทิ ห้องพิริยภูมิศิลป์ นำเสนอมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น ห้องพิริยทัศนา นำเสนอแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดแพร่ ห้องพิริยสวามิภักดิ์ เป็นห้องเทิดพระเกียรติ และห้องพิริยอาลัยนำเสนอประวัติเจ้าหลวง  พิพิธภัณฑ์เมืองแพร่หรือคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่แห่งนี้เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.30 – 17.00 น. นอกจากนี้ สถานที่แห่งนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรต่างๆตลอดปี และจัดกิจกรรมใหญ่ๆเป็นประจำทุกปี


คุ้มเจ้าหลวงเคยใช้เป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เมื่อคราวที่เสด็จมาเยี่ยมเยียนราษฎรจังหวัดแพร่ ในระหว่างวันที่ 15-17 มีนาคม 2501 และได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีให้เป็นสถาปัตยกรรมดีเด่นประเภทอาคารสถาบันและสาธารณะสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ สำนักงานจังหวัดแพร่ โทร 0 5451 1411